แนะนำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
จัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองปัญหาการขาดแคลนพยาบาล โดยเฉพาะ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยริเริ่มโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2538 และเปลี่ยนฐานะเป็น คณะพยาบาลศาสตร์ วันที่ 20 กรกฎาคม 2541 ซึ่งเป็นวันสถาปนาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามสืบมา ปัจจุบันได้รับการรับรองวิทยฐานะเป็นสถานการศึกษาวิชาการพยาบาลและผดุงครรภ์ จากสภาการพยาบาลแห่งประเทศไทยในวันที่ 25ตุลาคม 2548เป็นระยะเวลา 5 ปีการศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 - 2552
ดังนั้นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัยภูมิภาค ที่จะช่วยตอบสนองนโยบายของรัฐในการผลิตบัณฑิตทางการพยาบาล เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาสุขภาพของประชาชน ตลอดจนความเสมอภาคของประชาชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในการได้รับการบริการ สุขภาพ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอันเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศต่อไป ดังนั้น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงได้ขอปรับแผนพัฒนา การศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 8 เปิดสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ จากปี พ.ส. 2544 เป็น ปี พ.ศ. 2540 และแต่งตั้งคณะกรรมการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ 1286/2538 ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2538 มี รองศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ เป็นประธานกรรมการ คณะกรรมการมีหน้าที่ 1) วางแผน และกำหนดทิศทางในการเปิดสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ และจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ 2) จัดทำหลักสูตร 3) ดำเนินการ ในเรื่องต่างที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การเปิดสอน และจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงทำให้เกิดหน่วยงาน ชื่อโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ขึ้น เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาสารคามตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ในการดำเนินการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ดังนี้ อนุกรรมการฝ่ายจัดทำหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต อนุกรรมการฝ่ายวางแผนการศึกษาภาคปฏิบัติ และอนุกรรมการฝ่ายจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองทางการพยาบาล ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ 314 / 2539 เรื่องแต่งตั้งอนุกรรมการ ลงวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2539 อนุกรรมการฝ่ายจัดทำหลักสูตรพยาบาล ศาสตรบัณฑิต ได้ยกร่างหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และดำเนินการตามขั้นตอน กล่าวคือผ่านการพิจารณาจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการ วิชาการมหาวิทยาลัย คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย และผ่านความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และทบวง มหาวิทยาลัยรับทราบและให้ความเห็นชอบหลักสูตรเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2540 เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้มีการปรับปรุงข้อบังคับมหาวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรีในปี พ.ศ. 2540 จึงได้มีการปรับปรุงหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ในปี พ.ศ. 2541 เพื่อให้สอดคล้องกับข้อบังคับ ของมหาวิทยาลัย คือมีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่เกิน 140 หน่วยกิต ซึ่งหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ. 2541) ได้ผ่านความเห็นชอบ ของสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และทบวงมหาวิทยาลัยรับทราบ และให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2542 และคณะกรรมการข้าราชการและพลเรือนรับรองและรับทราบคุณวุฒิผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุงปี พ.ศ. 2541) เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต รุ่นแรกรับนิสิต จำนวน 33 คน เมื่อปีการศึกษา 2540 ต่อมาในภาคปลาย ปีการศึกษา 2542 ได้เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง) โดยรับ นิสิต จำนวน 57 คน หลักสูตรนี้ผ่านความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2542 และผ่านความเห็นชอบจากทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2543
เนื่องจากประเทศประสบปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2540 รัฐบาลจึงมีนโยบายไม่ให้จัดตั้งหน่วยงานใหม่ แต่สามารถจัดตั้งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของสภามหาวิทยาลัยได้ ดังนั้นอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14(2) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย มหาสารคาม ปี พ.ศ. 2538 สภามหาวิทยาลัยมหาสารคามจึงร่างระเบียบว่าด้วยคณะพยาบาลศาสตร์ ปี พ.ศ. 2541 ทำให้มีการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ ขึ้นในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นหน่วยงานจัดการศึกษาทำนองเดียวกับคณะดำเนินงานในรูปแบบการบริหารในลักษณะ นอกระบบราชการ ที่เน้นความคล่องตัว มีประสิทธิภาพและพึ่งตนเองให้มากที่สุด โดยมีสภามหาวิทยาลัยกำกับดูแลทำให้โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ เปลี่ยนฐานะ มาเป็นคณะพยาบาลศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ เป็นรักษาการคณบดี คณะพยาบาลศาสตร์ จนถึงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2542 และรองศาสตราจารย์วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์ ดำรงตำแหน่งรักษาการคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ ต่อมาจนถึง วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 รองศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ ได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ และต่อมา รองศาสตราจารย์วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์ ขึ้นดำรงตำแหน่งคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นคนต่อมา และดำรงตำแหน่งเรื่อยมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ปรัชญา
พยาบาลพึงเป็นผู้มีความรู้คุ่คุณธรรม เป็นผู้นำในการสร้างเสริมสุขภาพ
ปณิธาน
เป็นสถาบันที่ผลิตบัณฑิตสาขาพยาบาลศาสตร์ทุกระดับปริญญาให้มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล ส่งเสริมการ วิจัย เผยแพร่องค์ความรู้ และการพัฒนานวัตกรรมด้านการพยาบาล การให้บริการวิชาการด้านสุขภาพ มุ่งมั่น พัฒนาบุคลากรในการสั่งสม เสาะแสวงหาความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยผสานองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับวิทยาการที่เป็นสากล
พันธกิจ
1. ผลิตพยาบาลที่มีคุณภาพและมีความเป็นผู้นำ
2. พัฒนาองค์ความรู้ที่มุ่งสร้างนวัตกรรมทางด้านสุขภาพ
3. สร้างเสริมสุขภาพและความเข้มแข็งของชุมชน
4. สืบสานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
วิสัยทัศน์
เป็นสถาบันการศึกษาพยาบาลชั้นนำแห่งคุณภาพ คุณธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสุขภาพชุมชน
วัตถุประสงค์
คณะพยาบาลศาสตร์ จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน โดยจัดให้มีการเรียนการสอนหลักสูตร พยาบาลศาสตร์ ในทุกระดับปริญญาและหลักสูตรอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. ศึกษาวิจัยและเผยแพร่องค์ความรู้ และนวัตกรรมด้านการพยาบาลและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยอาจร่วมมือ กับสถาบันภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ
3. ให้บริการวิชาการด้านสุขภาพ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ท้องถิ่น องค์กรของรัฐและเอกชน
4. ทำนุบำรุง สนับสนุน และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับวิชาชีพ
จัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองปัญหาการขาดแคลนพยาบาล โดยเฉพาะ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยริเริ่มโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2538 และเปลี่ยนฐานะเป็น คณะพยาบาลศาสตร์ วันที่ 20 กรกฎาคม 2541 ซึ่งเป็นวันสถาปนาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามสืบมา ปัจจุบันได้รับการรับรองวิทยฐานะเป็นสถานการศึกษาวิชาการพยาบาลและผดุงครรภ์ จากสภาการพยาบาลแห่งประเทศไทยในวันที่ 25ตุลาคม 2548เป็นระยะเวลา 5 ปีการศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 - 2552
ประวัติความเป็นมา (โดยละเอียด)
มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีแผนเปิดสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 8 เดิมกำหนดเปิดสอนในปีพ.ศ. 2544 แต่เนื่องจากมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะผลิตบัณฑิตสาขาพยาบาลศาสตร์ ซึ่งเป็นสาขาที่ขาดแคลน โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปัญหาขาดแคลน พยาบาลอย่างชัดเจน กล่าวคือ พยาบาลต่อประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอัตราส่วน 1 : 3,653 ในขณะที่ภาคกลาง ภาคเหนือและภาคใต้ มีอัตราส่วน 1 : 1,296 - 1 : 1,775 (สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย, 2535) และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดทบวง มหาวิทยาลัยและสภากาชาดไทยให้เร่งรัดการเพิ่มผลิตบัณฑิตทางการพยาบาล ตั้งแต่ปีการศึกษา 2536 - 2542 ซึ่งคาดว่าในปี พ.ศ. 2544 จะมีอัตราส่วน พยาบาลต่อประชากรดีขึ้น แต่ยังต่ำกว่าประเทศพัฒนาอื่น ๆ สภาพการผลิตพยาบาลในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 7 สามารถเพิ่มการผลิต ได้เพียงร้อยละ 14.5 เท่านั้น ซึ่งยังต่ำกว่าความต้องการบุคลากรพยาบาลเป็นอย่างมาก (กองแผนงาน สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย, 2535) ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือมีประชากร จำนวน 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ แต่มีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ผลิตบัณฑิต ทางการพยาบาลเพียงสถาบันเดียว คือมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ดังนั้นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัยภูมิภาค ที่จะช่วยตอบสนองนโยบายของรัฐในการผลิตบัณฑิตทางการพยาบาล เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาสุขภาพของประชาชน ตลอดจนความเสมอภาคของประชาชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในการได้รับการบริการ สุขภาพ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอันเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศต่อไป ดังนั้น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงได้ขอปรับแผนพัฒนา การศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 8 เปิดสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ จากปี พ.ส. 2544 เป็น ปี พ.ศ. 2540 และแต่งตั้งคณะกรรมการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ 1286/2538 ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2538 มี รองศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ เป็นประธานกรรมการ คณะกรรมการมีหน้าที่ 1) วางแผน และกำหนดทิศทางในการเปิดสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ และจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ 2) จัดทำหลักสูตร 3) ดำเนินการ ในเรื่องต่างที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การเปิดสอน และจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงทำให้เกิดหน่วยงาน ชื่อโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ขึ้น เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาสารคามตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ในการดำเนินการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ดังนี้ อนุกรรมการฝ่ายจัดทำหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต อนุกรรมการฝ่ายวางแผนการศึกษาภาคปฏิบัติ และอนุกรรมการฝ่ายจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองทางการพยาบาล ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ 314 / 2539 เรื่องแต่งตั้งอนุกรรมการ ลงวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2539 อนุกรรมการฝ่ายจัดทำหลักสูตรพยาบาล ศาสตรบัณฑิต ได้ยกร่างหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และดำเนินการตามขั้นตอน กล่าวคือผ่านการพิจารณาจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการ วิชาการมหาวิทยาลัย คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย และผ่านความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และทบวง มหาวิทยาลัยรับทราบและให้ความเห็นชอบหลักสูตรเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2540 เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้มีการปรับปรุงข้อบังคับมหาวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรีในปี พ.ศ. 2540 จึงได้มีการปรับปรุงหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ในปี พ.ศ. 2541 เพื่อให้สอดคล้องกับข้อบังคับ ของมหาวิทยาลัย คือมีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่เกิน 140 หน่วยกิต ซึ่งหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ. 2541) ได้ผ่านความเห็นชอบ ของสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และทบวงมหาวิทยาลัยรับทราบ และให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2542 และคณะกรรมการข้าราชการและพลเรือนรับรองและรับทราบคุณวุฒิผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุงปี พ.ศ. 2541) เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต รุ่นแรกรับนิสิต จำนวน 33 คน เมื่อปีการศึกษา 2540 ต่อมาในภาคปลาย ปีการศึกษา 2542 ได้เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง) โดยรับ นิสิต จำนวน 57 คน หลักสูตรนี้ผ่านความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2542 และผ่านความเห็นชอบจากทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2543
เนื่องจากประเทศประสบปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2540 รัฐบาลจึงมีนโยบายไม่ให้จัดตั้งหน่วยงานใหม่ แต่สามารถจัดตั้งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของสภามหาวิทยาลัยได้ ดังนั้นอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14(2) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย มหาสารคาม ปี พ.ศ. 2538 สภามหาวิทยาลัยมหาสารคามจึงร่างระเบียบว่าด้วยคณะพยาบาลศาสตร์ ปี พ.ศ. 2541 ทำให้มีการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ ขึ้นในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นหน่วยงานจัดการศึกษาทำนองเดียวกับคณะดำเนินงานในรูปแบบการบริหารในลักษณะ นอกระบบราชการ ที่เน้นความคล่องตัว มีประสิทธิภาพและพึ่งตนเองให้มากที่สุด โดยมีสภามหาวิทยาลัยกำกับดูแลทำให้โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ เปลี่ยนฐานะ มาเป็นคณะพยาบาลศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ เป็นรักษาการคณบดี คณะพยาบาลศาสตร์ จนถึงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2542 และรองศาสตราจารย์วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์ ดำรงตำแหน่งรักษาการคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ ต่อมาจนถึง วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 รองศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ ได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ และต่อมา รองศาสตราจารย์วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์ ขึ้นดำรงตำแหน่งคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นคนต่อมา และดำรงตำแหน่งเรื่อยมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ปรัชญา
พยาบาลพึงเป็นผู้มีความรู้คุ่คุณธรรม เป็นผู้นำในการสร้างเสริมสุขภาพ
ปณิธาน
เป็นสถาบันที่ผลิตบัณฑิตสาขาพยาบาลศาสตร์ทุกระดับปริญญาให้มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล ส่งเสริมการ วิจัย เผยแพร่องค์ความรู้ และการพัฒนานวัตกรรมด้านการพยาบาล การให้บริการวิชาการด้านสุขภาพ มุ่งมั่น พัฒนาบุคลากรในการสั่งสม เสาะแสวงหาความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยผสานองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับวิทยาการที่เป็นสากล
พันธกิจ
1. ผลิตพยาบาลที่มีคุณภาพและมีความเป็นผู้นำ
2. พัฒนาองค์ความรู้ที่มุ่งสร้างนวัตกรรมทางด้านสุขภาพ
3. สร้างเสริมสุขภาพและความเข้มแข็งของชุมชน
4. สืบสานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
วิสัยทัศน์
เป็นสถาบันการศึกษาพยาบาลชั้นนำแห่งคุณภาพ คุณธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสุขภาพชุมชน
วัตถุประสงค์
คณะพยาบาลศาสตร์ จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน โดยจัดให้มีการเรียนการสอนหลักสูตร พยาบาลศาสตร์ ในทุกระดับปริญญาและหลักสูตรอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. ศึกษาวิจัยและเผยแพร่องค์ความรู้ และนวัตกรรมด้านการพยาบาลและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยอาจร่วมมือ กับสถาบันภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ
3. ให้บริการวิชาการด้านสุขภาพ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ท้องถิ่น องค์กรของรัฐและเอกชน
4. ทำนุบำรุง สนับสนุน และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับวิชาชีพ
ขอบคุณ---ข้อมูลอ้างอิงจาก http://www.nu.msu.ac.th/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น